บ้านรายการหลักหน้าที่ของเราบทเรียนอ่านทุกวันติดต่อแนวหน้า


 
ช่วงเวลาแห่งความจริง - บทที่ 9

จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา

ภาพท 1 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 1
ให้เราร่วมใจกันอธิษฐาน
ข้าแต่พระบิดา

ตามที่บันทึกไว้ในหนังสือพระกิตติคุณ พระเยซูฉลองเทศกาลปัสการ่วมกับสาวกก่อนที่พระองค์สิ้นพระชนม์เพียงไม่กี่ชั่วโมง

ถึงแม้พระองค์ทรงเข้าร่วมฉลองปัสกาทุกปีก็ตามที แต่การฉลองปัสกาครั้งนี้เป็นการฉลองที่พิเศษ แท้จริงแล้วพระเยซูทรงเปลี่ยนแปลงการฉลองนี้ และสถาปนาขึ้นเป็นงานเลี้ยงขององค์พระผู้เป็นเจ้า

งานเลี้ยงฉลองขององค์พระผู้เป็นเจ้ามีความหมายว่าอะไรและโดยเฉพาะมีความสำคัญต่อคริสเตียนอย่างไร

ข้าแต่พระบิดาเจ้า ขอพระองค์ทรงโปรดประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์ส่องสว่างลงมายังข้าพระองค์ทั้งหลายในขณะที่ข้าพระองค์ทั้งหลายแสวงหาพระคำของพระองค์ ในนามของพระเยซูคริสต์

อ่าเมน
Next screen

ภาพท 2 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 2
อพยพ 12:3,5-7,11 ข้อสังเกต
จงสั่งชุมนุมคนอิสราเอลว่า ในวันที่สิบเดือนนี้ ให้ผู้ชายทุกคน เตรียมลูกแกะครอบครัวละตัว ตามตระกูลของตน (....)

ลูกแกะของเจ้า ต้องปราศจากตำหนิ เป็นตัวผู้อายุไม่เกินหนึ่งขวบ(.....)

แล้วในเย็นวันนั้น ให้ที่ประชุมของคนอิสราเอลทั้งหมด ฆ่าลูกแกะของเขา แล้วเอาเลือดทาที่ไม้วงกบประตูทั้งสองข้าง และไม้ข้างบนณเรือนที่เขาเลี้ยงกันนั้นด้วย (.....)

การเลี้ยงนี้เป็นปัสกาของพระเจ้า
การฉลองปัสกาเริ่มตั้งแต่สมัยของโมเสส เมื่อชนชาติอิสราเอลยังเป็นทาสอยู่ที่ประเทศอียิปต์
Next screenPrevious screen

ภาพท 3 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 3
อพยพ 12:12,13 ข้อสังเกต
เพราะในคืนวันนั้น เราจะผ่านไปในประเทศอียิปต์ และเราจะประหารลูกหัวปีทั้งหมดในอียิปต์ทั้ง ของมนุษย์และของสัตว์ และเราจะพิพากษาลงโทษพระทั้งปวงของอียิปต์ เราคือพระเจ้า

แต่เลือดที่บ้านที่เจ้าทั้งหลายอยู่นั้น จะเป็นหมายสำคัญสำหรับเจ้า

เมื่อเราเห็นเลือดนั้น เราจะผ่านเว้นเจ้าทั้งหลายไป จะไม่มีภัยพิบัติบังเกิดแก่เจ้า ขณะที่เราประหารชาวอียิปต์
เพื่อทำให้ฟาโรห์เชื่อ พระเจ้าทรงประทานภัยพิบัติ 9 อย่างลงมายังประเทศอียิปต์ แต่ไม่เกิดผล

ภัยพิบัติที่สิบนี้ บุตรหัวปีทั้งหลายในแผ่นดินอียิปต์จะได้รับภัยของความตาย ครอบครัวที่เข้าร่วม ปัสกาจะรอดจากภัยนี้
Next screenPrevious screen

ภาพท 4 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 4
อพยพ 12:14 ข้อสังเกต
วันนี้จะเป็นวันที่ระลึกสำหรับเจ้า ให้เจ้าทั้งหลายถือไว้เป็นเทศกาลแด่พระเจ้า ชั่วชาติพันธุ์ของเจ้า เจ้าจงฉลองเทศกาลนี้และถือเป็นกฎถาวร ชนชาติอิสราเอลแสดงออกถึงความเชื่อของเขาด้วยการฆ่าลูกแกะและเอาเลือดแกะทาบนวงกบและไม้ข้างบน ณ เรือนที่เลี้ยงกัน

ในคืนต่อมา พวกเขาเห็นทูตสวรรค์มรณา "เดินผ่าน" บ้านที่มีเครื่องหมาย บุตรหัวปีของครอบครัวที่เชื่อฟังพระบัญชาของพระเจ้ารอดได้ทุกคน
Next screenPrevious screen

ภาพท 5 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 5
ลูกา 22:7,8 ข้อสังเกต
พอถึงวันกินขนมปังไร้เชื้อ เมื่อเขาต้องฆ่าลูกแกะสำหรับปัสกา

พระองค์จึงทรงใช้เปโตรและยอห์นไป สั่งเขาว่า "จงไปจัดเตรียมปัสกาให้เราทั้งหลายกิน"
ในขณะที่พระเยซูทรงปฏิบัติพระราชกิจอยู่บนโลกนี้ พระองค์ทรงสัตย์ซื่อกับการปฏิบัติพระบัญชาของพระบิดาด้วยการฉลองเทศกาลปัสกา

แต่ในขณะที่เวลาของการตรึงพระเยซูบนกางเขนนั้นมาใกล้แล้ว พระองค์ทรงประทานเครื่องหมายใหม่ให้สาวกเพื่อแปลงความหมายของพิธีปัสกา

ทำไมพระองค์จึงกระทำเช่นนั้น
Next screenPrevious screen

ภาพท 6 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 6
ยอห์น 1:29 ข้อสังเกต
วันรุ่งขึ้นยอห์นเห็นพระเยซูกำลังเสด็จมาทางท่าน ท่านจึงกล่าวว่า

"จงดูพระเมษโปดกของพระเจ้า ผู้ทรงรับความผิดบาปของโลกไปเสีย"
พระเยซูทรงทราบดีว่าเทศกาลปัสกามีความหมายมากยิ่งกว่าการระลึกถึงการช่วยชนชาติอิสราเอลออกจากการเป็นทาสในอียิปต์

เป็นเทศกาลที่ประกาศให้ทราบและแสดงถึงสัญลักษณ์ของการช่วยให้รอดที่พระเมษโปดกของพระเจ้าปฏิบัติจนสำเร็จ ทรงตรึงบนกางเขนเพื่อช่วยผู้ที่เชื่อออกจากบาป
Next screenPrevious screen

ภาพท 7 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 7
กันดารวิถี 9:12 ข้อสังเกต
เขาทั้งหลายต้องไม่ให้อะไรเหลือจนวันรุ่งขึ้น และไม่หักกระดูกแกะปัสกา ให้กระทำตามกฎเกณฑ์ ในเรื่องถือเทศกาลปัสกาทุกประการ เทศกาลปัสกาสื่อให้เห็นอย่างสมบูรณ์ถึงความตายของพระเยซูบนไม้กางเขน รวมไปถึงการไม่ให้กระดูกของลูกแกะหักในขณะที่เผาเป็นเครื่องบูชา
ยอห์น 19:33,36
แต่เมื่อเขามาถึงพระเยซู และเห็นว่า พระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว เขาจึงมิได้ทุบขาของพระองค์ (.....)

เพราะสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น เพื่อให้เป็นจริงตามข้อพระธรรม ซึ่งว่า "พระอัฐิของพระองค์จะไม่หักสักชิ้นเดียว"
Next screenPrevious screen

ภาพท 8 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 8
1 โครินธ์ 5:7 ข้อสังเกต
พระคริสต์ผู้ทรงเป็นปัสกาของเราได้ถูกฆ่าบูชาเสียแล้ว เทศกาลปัสกาจึงเป็นเงาของการถวายบูชาไถ่บาปบนกางเขนของพระเยซูคริสต์

ตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นมา การทำพิธีปัสกาอีกก็ไม่มีความหมาย
1 เปโตร 1:18,19
ท่านรู้ว่าพระองค์ได้ทรงไถ่ท่านทั้งหลายออกจากการประพฤติอันหาสาระมิได้ ซึ่งท่านได้รับต่อจากบรรพบุรุษของท่าน มิใช่ไถ่ไว้ด้วยสิ่งที่เสื่อมสลายได้ เช่นเงินและทอง แต่ทรงไถ่ด้วยพระโลหิตประเสริฐของพระคริสต์ ดังเลือดลูกแกะที่ปราศจากตำหนิหรือจุดด่าง
Next screenPrevious screen

ภาพท 9 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 9
ลูกา 22:14-16 ข้อสังเกต
เมื่อถึงเวลา พระองค์ทรงเอนพระกายเสวยพร้อมกับอัครทูต พระองค์ตรัสกับเขาว่า

เรามีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะกินปัสกานี้กับพวกท่านก่อนเราจะต้องทนทุกข์ทรมาน ด้วยเราบอกท่านทั้งหลายว่าเราจะไม่กินปัสกานี้อีก จนกว่าจะสำเร็จความหมายของปัสกานั้นในแผ่นดินของพระเจ้า
ด้วยประการเช่นนี้ ในการฉลองปัสกาครั้งสุดท้ายนี้ พระองค์ทรงสถาปณาเครื่องหมายใหม่เพื่อไปแทนพิธีปัสกา

สัญลักษณ์เหล่านั้นจะเป็นเครื่องหมายแทนการตายบนกางเขนได้สมบูรณ์กว่า สัญลักษณ์เหล่านั้นคืออะไร
Next screenPrevious screen

ภาพท 10 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 10
ลูกา 22:19 ข้อสังเกต
พระองค์ทรงหยิบขนมปัง โมทนาพระคุณ แล้วหักส่งให้แก่เขาทั้งหลาย ตรัสว่า "นี่เป็นกายของเรา ซึ่งได้ให้สำหรับท่านทั้งหลาย จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา" สัญลักษณ์แรกคือขนมปังไร้เชื้อ ซึ่งหมายถึงพระกายของพระเยซูคริสต์ที่ทรงสละเพื่อความบาปของเรา
ยอห์น 6:51
(พระเยซูตรัสว่า)

"เราเป็นอาหารที่ธำรงชีวิต ซึ่งลงมาจากสวรรค์ ถ้าผู้ใดกินอาหารนี้ ผู้นั้นจะมีชีวิตนิรันดร์ และอาหารที่เราจะให้เพื่อเห็นแก่ชีวิตของโลกนั้น ก็คือเลือดเนื้อของเรา"
Next screenPrevious screen

ภาพท 11 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 11
ลูกา 22:17,18,20 ข้อสังเกต
พระองค์ทรงหยิบถ้วยโมทนาพระคุณแล้วตรัสว่า

"จงรับถ้วยนี้แบ่งกันดื่ม เพราะเราบอกท่านทั้งหลายว่า เราจะไม่ดื่มน้ำผลแห่งเถาองุ่นต่อไปอีก จนกว่าแผ่นดินของพระเจ้าจะมา" (.....)

"ถ้วยนี้ซึ่งเทออกเพื่อท่านทั้งหลายเป็นคำสัญญาใหม่ โดยโลหิตของเรา"
สัญลักษณ์ที่สองคือน้ำองุ่นที่ไม่ได้ผ่านการหมัก เป็นเครื่องหมายแทนพระโลหิตของพระเยซูที่ทรงหลั่งเพื่อเรา

โปรดสังเกตให้ดีว่า ผู้เชื่อทุกคนจะต้องดื่มน้ำองุ่นนี้
ยอห์น 6:53
พระเยซูจึงตรัสกับเขาว่า "เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อและไม่ดื่มโลหิตของบุตรมนุษย์ ท่านก็ไม่มีชีวิตในตัวท่าน"
Next screenPrevious screen

ภาพท 12 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 12
ยอห์น 6:54,55 ข้อสังเกต
ผู้ที่กินเนื้อและดื่มโลหิตของเรา ก็มีชีวิตนิรันดร์ และเราจะให้ผู้นั้นฟื้นขึ้นมาในวันสุดท้าย

เพราะว่าเนื้อของเราเป็นอาหารแท้ และโลหิตของเราก็เป็นของดื่มแท้
มีหลายคนที่อ่านพระดำรัสของพระเยซูนี้แล้ว คิดว่าในขณะที่รับประทานอาหารอยู่นั้น พระเยซูกระทำการอัศจรรย์โดยเปลี่ยนขนมปังและน้ำองุ่นเหล่านั้นเป็นพระกายและพระโลหิตของพระเยซูคริสต์

แต่ยังมีคนอื่นๆเชื่อว่ามีการเติมพระกายและพระโลหิตของพระเยซูลงไปในขนมปังและน้ำองุ่น

ความเชื่อของใครถูก
Next screenPrevious screen

ภาพท 13 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 13
ยอห์น 10:9 ข้อสังเกต
(พระเยซูตรัสว่า) "เราเป็นประตู" เมื่อมีการแปลความหมายของพระดำรัสของพระเยซูที่ว่า "นี่คือกายของเรา นี่คือพระโลหิตของเรา" เพื่อสนับสนุนความเชื่อว่าเป็นพระกายและพระโลหิตที่แท้จริงแล้ว พวกเขาปฏิเสธความจริงที่ว่าพระเยซูทรงใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมายเพื่อบอกพระลักษณะของพระองค์
ยอห์น 14:6
พระเยซูตรัสกับเขาว่า "เราเป็นทางนั้น"
ยอห์น 15:1
(พระเยซูตรัสว่า) "เราเป็นเถาองุ่นแท้"
Next screenPrevious screen

ภาพท 14 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 14
ยอห์น 6:52,63 ข้อสังเกต
แล้วพวกยิวก็ทุ่มเถียงกันว่า

"ผู้นี้จะเอาเนื้อของเขาให้เรากินได้อย่างไร" (....)

พระเยซูจึงตรัสกับเขาว่า

"จิตวิญญาณเป็นที่ให้มีชีวิต ส่วนเนื้อหนังไม่มีประโยชน์อันใด ถ้อยคำซึ่งเราได้กล่าวกับท่านทั้งหลายนั้น เป็นจิตวิญญาณและเป็นชีวิต"
ให้สังเกตว่า ชาวยิวเองก็ยังแปลความหมายพระดำรัสของพระเยซูเรื่องพระกายและพระโลหิตเป็นอาหารตามตัวอักษร พระเยซูทรงแก้ไขเรื่องนี้ว่า "ถ้อยคำซึ่งเราได้กล่าวกับท่านทั้งหลายนั้น เป็นจิตวิญญาณและเป็นชีวิต"

ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า ขนมปังและน้ำองุ่นไม่ได้เป็นพระวรกายและพระโลหิตของพระเยซูคริสต์ แต่เป็นสัญลักษณ์แทนพระกายและพระโลหิตของพระองค์
Next screenPrevious screen

ภาพท 15 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 15
ฮีบรู 7:27 ข้อสังเกต
(พระเยซู) ไม่ต้องทรงนำเครื่องบูชามาทุกวันๆ ดังเช่นมหาปุโรหิตอื่นๆ ผู้ซึ่งตอนแรกถวายสำหรับความผิดของตัวเอง แล้วจึงถวายสำหรับความผิดของประชาชน ส่วนพระเยซูได้ทรงถวายเครื่องบูชาเพียงครั้งเดียว คือเมื่อพระองค์ได้ทรงถวายพระองค์เองต่อพระเจ้า สำหรับความเชื่อที่ว่าขนมปังและน้ำองุ่นเป็นพระกายและพระโลหิตที่แท้จริงของพระเยซูแล้ว ก็จะมีการถวายพระเยซูเป็นเครื่องเผาบูชาซ้ำหลายๆครั้ง

พระคำของพระเจ้ายังบันทึกไว้อย่างชัดเจนว่า จะไม่มีการถวายเครื่องเผาบูชานี้ซ้ำอีกเพราะถวายเพียงครั้งเดียวก็เป็นการเพียงพอ
Next screenPrevious screen

ภาพท 16 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 16
1 โครินธ์ 11:23-25 ข้อสังเกต
ในคืนที่เขาอายัดพระเยซูเจ้านั้น พระองค์ทรงหยิบขนมปัง ครั้นขอบพระคุณแล้วจึงทรงหัก แล้วตรัสว่า

"นี่เป็นกายของเรา ซึ่งให้แก่ท่านทั้งหลาย จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา"

เมื่อรับประทานแล้ว พระองค์จึงทรงหยิบถ้วยด้วยอาการอย่างเดียวกัน ตรัสว่า

"ถ้วยนี้คือพันธสัญญาใหม่ โดยโลหิตของเรา เมื่อท่านดื่มจากถ้วยนี้เวลาใด จงดื่มเป็นที่ระลึกถึงเรา"
คำสอนจากพระคำของพระเจ้าบอกไว้อย่างชัดเจนว่า จุดประสงค์ของงานเลี้ยงฉลองของพระเยซูไม่ใช่เพื่อทำพิธีถวายบูชาพระเยซูคริสต์ซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่เป็นการระลึกถึงการถวายบูชาเพียงครั้งเดียวบนคาลวารีเพื่อคนทั้งปวง
Next screenPrevious screen

ภาพท 17 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 17
1 โครินธ์ 11:26,27 ข้อสังเกต
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายกินขนมปังนี้และดื่มจากถ้วยนี้เวลาใด ท่านก็ประกาศการวายพระชนม์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า จนกว่าพระองค์จะเสด็จมา

เหตุฉะนั้นถ้าผู้ใดกินขนมปัง หรือดื่มจากถ้วยขององค์พระผู้เป็นเจ้าอย่างไม่สมควร ผู้นั้นก็ทำผิดต่อพระกายและพระโลหิตขององค์พระผู้เป็นเจ้า
เราต้องเข้าร่วมพิธีมหาสนิทด้วยท่าทีที่ยำเกรง

เราจะต้องเข้าร่วมพิธีด้วยการถวายเกียรติพระผู้ช่วยให้รอดของเรา เพื่อมองให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างอาหารธรรมดาและเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสต์
Next screenPrevious screen

ภาพท 18 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 18
1 โครินธ์ 11:28,29 ข้อสังเกต
ขอให้ทุกคนพิจารณาตนเอง แล้วจึงกินขนมปังและดื่มจากถ้วยนี้

เพราะว่าคนที่กินและดื่มโดยมิได้เล็งเห็นพระกายขององค์พระผู้เป็นเจ้า ก็กินและดื่มเป็นเหตุให้ตนเองถูกพิพากษาโทษ
พิธีมหาสนิททำให้เราตระหนักว่าพระเจ้าทรงต้องจ่ายมากเพียงไรที่จะช่วยเราออกจากบาป ชำระด้วยชีวิตของพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ คือพระเยซูคริสต์

เราจึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมเมื่อจะเข้าร่วมพิธีมหาสนิทนี้

เป็นเวลาที่เราจะต้องตรวจสอบความคิดของเรา สารภาพบาปของเราต่อพระเจ้าและกลับใจอย่างจริงจัง
Next screenPrevious screen

ภาพท 19 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 19
ลูกา 22:24 ข้อสังเกต
มีการเถียงกันด้วยว่าจะนับว่าใครในพวกเขาเป็นใหญ่ที่สุด เป็นที่น่าเสียดายว่า ก่อนที่พระอาจารย์จะสิ้นพระชนม์เพียงไม่กี่ชั่วโมง สาวกทั้งหลายไม่ใส่ใจในเรื่องใดนอกจากว่าใครจะได้เป็นใหญ่

แต่กระนั้น พระเยซูทรงกำลังจะสถาปนาพิธีหนึ่งขึ้นก่อนที่จะรับประทานอาหารร่วมกัน

พิธีนี้จะเชิญชวนให้พวกเขาละทิ้งความหยิ่งและความทะเยอทะยานและเตรียมตัวเพื่อเขาร่วมพิธีมหาสนิท
Next screenPrevious screen

ภาพท 20 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 20
ยอห์น 13:1 ข้อสังเกต
ก่อนถึงงานเทศกาลปัสกา พระเยซูทรงทราบว่า ถึงเวลาแล้วที่พระองค์จะทรงจากโลกนี้ไปหาพระบิดา พระองค์ทรงรักพวกของพระองค์ซึ่งอยู่ในโลกนี้ พระองค์ทรงรักเขาจนถึงที่สุด ยอห์นบันทึกเรื่องพิธีที่พระเยซูทรงกำลังจะสถาปนาถึงเพื่อเตรียมเหล่าสาวกให้พร้อมที่จะเข้าร่วมพิธีมหาสนิท
Next screenPrevious screen

ภาพท 21 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 21
ยอห์น 13:4,5 ข้อสังเกต
พระองค์ทรงลุกขึ้นจากการรับประทานอาหาร ทรงถอดฉลองพระองค์ออกวางไว้ และทรงเอาผ้าเช็ดตัวคาดเอวของพระองค์

แล้วก็ทรงเทน้ำลงในอ่าง และทรงเอาน้ำล้างเท้าของพวกสาวก และเช็ดด้วยผ้าที่ทรงคาดเอวไว้นั้น
ตามธรรมเนียมแล้ว ก่อนที่จะร่วมรับประทานอาหาร จะมีคนรับใช้เข้ามาล้างเท้าที่เปื้อนฝุ่นของคนที่เดินทางมา

ในเมื่อไม่มีคนรับใช้ ไม่มีสาวกคนใดเลยที่ต้องการทำตัวให้ตกต่ำด้วยการล้างเท้าของผู้อื่น

ดังนั้น พระเยซูเองทรงล้างเท้าของเขา เพื่อสอนบทเรียนการถ่อมใจที่แท้จริง
Next screenPrevious screen

ภาพท 22 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 22
ยอห์น 13:12-14 ข้อสังเกต
เมื่อพระองค์ทรงล้างเท้าเขาทั้งหลายแล้ว พระองค์ก็ทรงฉลองพระองค์ และประทับลงตรัสกับเขาว่า

"ท่านทั้งหลายเข้าใจในสิ่งที่เราได้กระทำแก่ท่านหรือ

ท่านทั้งหลายเรียกเราว่าพระอาจารย์และองค์พระผู้เป็นเจ้า ท่านเรียกถูกแล้ว เพราะเราเป็นเช่นนั้น

ฉะนั้นถ้าเราผู้เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า และพระอาจารย์ของท่านได้ล้างเท้าของพวกท่าน พวกท่านก็ควรจะล้างเท้าของกันและกันด้วย"
การล้างเท้าเป็นพิธีที่จะสอนให้เราถ่อมตัวและรับใช้ผู้อื่น ไม่ว่าเราจะมีตำแหน่งใดในสังคม

เป็นโอกาสที่จะให้เราตรวจสอบความคิดของเราเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมที่จะเข้าร่วมงานเลี้ยงของพระผู้เป็นเจ้า
Next screenPrevious screen

ภาพท 23 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 23
ยอห์น 13:14,15 ข้อสังเกต
ฉะนั้นถ้าเราผู้เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า และพระอาจารย์ของท่านได้ล้างเท้าของพวกท่าน พวกท่านก็ควรจะล้างเท้าของกันและกันด้วย

เพราะว่าเราได้วางแบบแก่ท่านแล้ว เพื่อให้ท่านทำเหมือนดังที่เราได้กระทำแก่ท่านด้วย
มีคริสเตียนมากมายไม่เข้าร่วมพิธีล้างเท้าก่อนเข้าร่วมงานเลี้ยงขององค์พระผู้เป็นเจ้า

อย่างไรก็ตาม พระเยซูทรงชี้แนะไว้อย่างชัดเจนว่า เราจะต้องเข้าร่วมพิธีนี้ เพราะจะช่วยเตรียมให้เราพร้อมที่จะเข้าร่วมงานเลี้ยงฉลองขององค์พระผู้เป็นเจ้า
Next screenPrevious screen

ภาพท 24 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 24
ยอห์น 13:14-17 ข้อสังเกต
ฉะนั้นถ้าเราผู้เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า และพระอาจารย์ของท่านได้ล้างเท้าของพวกท่าน พวกท่านก็ควรจะล้างเท้าของกันและกันด้วย เพราะว่าเราได้วางแบบแก่ท่านแล้ว เพื่อให้ท่านทำเหมือนดังที่เราได้กระทำแก่ท่านด้วย

เราบอกความจริงแก่ท่านว่า บ่าวจะเป็นใหญ่กว่านายก็ไม่ได้ และทูตจะเป็นใหญ่กว่าผู้ที่ใช้เขาไปก็หามิได้

"เมื่อท่านรู้ดังนี้แล้วและท่านประพฤติตาม ท่านก็เป็นสุข"
พระเยซูทรงย้ำไว้ถึง 3 ครั้งที่จะให้เราเข้าร่วมพิธีล้างเท้า
  1. "พวกท่านก็ควรจะล้างเท้าของกันและกันด้วย"
     
  2. "เพราะว่าเราได้วางแบบแก่ท่านแล้ว เพื่อให้ท่านทำเหมือนดังที่เราได้กระทำแก่ท่านด้วย"
     
  3. "เมื่อท่านรู้ดังนี้แล้วและท่านประพฤติตาม ท่านก็เป็นสุข"
Next screenPrevious screen

ภาพท 25 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 25
ยอห์น 13:10 ข้อสังเกต
พระเยซูตรัสกับเขาว่า

"ผู้ที่อาบน้ำแล้วไม่จำเป็นต้องชำระกายอีก ล้างแต่เท้าเท่านั้น เพราะสะอาดหมดทั้งตัวแล้ว พวกท่านก็สะอาดแล้วแต่ไม่ใช่ทุกคน"
ในบทเรียน "บังเกิดด้วยน้ำและพระวิญญาณ" นั้น เราเห็นแล้วว่าการบัพติศมาหมายถึงการจุ่มทั้งตัวลงในน้ำ เป็นสัญลักษณ์ของการทำให้ผู้ที่เชื่อเป็นคนชอบธรรม การอภัยบาปของเขาและการบังเกิดใหม่ในพระเยซูคริสต์

แต่ในขณะที่เราดำเนินอยู่ในชีวิตคริสเตียนนั้น เท้าของเราจะเปรอะเปื้อน เราจึงเข้ามาหาพระเยซูเพื่อขอการชำระ

การล้างเท้าเปรียบเสมือนพิธีบัพติศมาฉบับย่อ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการชำระ เตือนให้เราระลึกเสมอว่าเราต้องการพระโลหิตของพระเยซูเพื่อการชำระ
Next screenPrevious screen

ภาพท 26 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 26
ยอห์น 13:10 ข้อสังเกต
พระเยซูตรัสกับเขาว่า

"ผู้ที่อาบน้ำแล้วไม่จำเป็นต้องชำระกายอีก ล้างแต่เท้าเท่านั้น เพราะสะอาดหมดทั้งตัวแล้ว"
บัดนี้เราเข้าใจพระดำรัสของพระเยซูที่ว่า ผู้ที่อาบน้ำ(โดยการบัพติศมา)แล้ว ไม่จำเป็นต้องเข้าพิธีบัพติศมาใหม่อีกเมื่อทำผิด เนื่องจากว่าเขาไม่ได้ละทิ้งความเชื่อในพระเยซู

การล้างเท้าจะให้ความมั่นใจว่าเราได้รับพระคุณแห่งการชำระของพระเยซูอย่างต่อเนื่อง

แต่ให้เราจดจำไว้ว่า การบัพติศมาและการล้างเท้านั้นไม่อาจทำให้เราสะอาดได้ แต่โดยพิธีนี้ พระเยซูคริสต์ทรงเป็นผู้ที่ชำระเรา
Next screenPrevious screen

ภาพท 27 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 27
ยอห์น 6:56,57 ข้อสังเกต
ผู้ที่กินเนื้อและดื่มโลหิตของเรา ผู้นั้นก็อยู่กับเราและเราอยู่กับเขา

พระบิดาผู้ทรงดำรงพระชนม์ได้ทรงใช้เรามา และเรามีชีวิตเพราะพระบิดานั้นฉันใด ผู้ที่กินเราผู้นั้นก็จะมีชีวิตเพราะเราฉันนั้น
เมื่อเราเข้าร่วมในพิธีล้างเท้าและงานเลี้ยงขององค์พระผู้เป็นเจ้าแล้ว เราจะติตสนิทกับพระเยซูคริสต์พระผู้ช่วยให้รอดของเรามากยิ่งขึ้น
วิวรณ์ 3:20
นี่แน่ะ เรายืนเคาะอยู่ที่ประตู

ถ้าผู้ใดได้ยินเสียงของเราและเปิดประตู เราจะเข้าไปหาผู้นั้นและจะรับประทานอาหารร่วมกับเขา และเขาจะรับประทานอาหารร่วมกับเรา
Next screenPrevious screen

ภาพท 28 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 28
กาลาเทีย 2:20 ข้อสังเกต
ข้าพเจ้าถูกตรึงไว้กับพระคริสต์แล้ว ข้าพเจ้าเองไม่มีชีวิตอยู่ต่อไป แต่พระคริสต์ต่างหากที่ทรงมีชีวิตอยู่ในข้าพเจ้า ด้วยการเข้าร่วมพิธีล้างเท้าและงานเลี้ยงฉลองขององค์พระผู้เป็นเจ้า เรากำลังทำสัญญาใหม่กับพระเยซูคริสต์ และทูลเชิญพระองค์ให้มาสถิตอยู่ในใจของเรา เพื่อทำให้สายสัมพันธ์ที่เชื่อมเรากับพระผู้ช่วยให้รอดนั้นแน่นขึ้น
เอเฟซัส 3:17
(.....) เพื่อพระคริสต์จะทรงสถิตในใจของท่านทางความเชื่อ
Next screenPrevious screen

ภาพท 29 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 29
1 โครินธ์ 10:16,17 ข้อสังเกต
ถ้วยแห่งพระพร ซึ่งเราได้ขอพระพรนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เรามีส่วนร่วมในพระโลหิตของพระคริสต์มิใช่หรือ

ขนมปังซึ่งเราหักนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เรามีส่วนร่วมในพระกายของพระคริสต์มิใช่หรือ

แม้เราซึ่งเป็นบุคคลหลายคน แต่เนื่องจากมีขนมก้อนเดียว เราจึงเป็นร่างกายเดียว เพราะว่าเราทุกคนรับประทานขนมก้อนเดียวกัน
และ แน่นอนทีเดียว การที่เราเข้าร่วมล้างเท้าและรับประทานด้วยกันนั้นจะช่วยให้เรามีความสนิทสนมกับพี่น้องในพระคริสต์ด้วยกัน

พิธีเหล่านี้นำให้เรามีความใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และทำให้เราตระหนักว่าเราอยู่ในคริสตจักรซึ่งเป็นครอบครัวใหญ่ของพระเจ้า
Next screenPrevious screen

ภาพท 30 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 30
มัทธิว 26:29 ข้อสังเกต
เราบอกท่านทั้งหลายว่า เราจะไม่ดื่มน้ำผลแห่งเถาองุ่นต่อไปอีกจนวันนั้นมาถึง คือวันที่เราจะดื่มกันใหม่กับพวกท่านในแผ่นดินแห่งพระบิดาของเรา โปรดอย่าลืมว่า การเข้าร่วมพิธีนี้ไม่ใช่ให้ผลที่เห็นได้แบบการเล่นกล

แต่เมื่อเข้าร่วมพิธีนี้แล้ว เราจะได้พระคุณของพระเจ้าในส่วนของความตาย การฟื้นคืนพระชนม์และชีวิตของพระองค์ในเรา

และยังส่งมาให้เรามีความหวังใจในการเสด็จกลับมาของพระเยซูด้วยรัศมีภาพ เป็นความหวังใจแสนประเสริฐที่มีในหัวใจของคริสเตียนทุกคน
Next screenPrevious screen

ภาพท 31 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 31
1 โครินธ์ 11:26 ข้อสังเกต
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายกินขนมปังนี้และดื่มจากถ้วยนี้เวลาใด ท่านก็ประกาศการวายพระชนม์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า จนกว่าพระองค์จะเสด็จมา ทุกครั้งที่เราเข้าร่วมงานเลี้ยงฉลองขององค์พระผู้เป็นเจ้า เราตั้งความหวังใจว่า ในอาณาจักรของพระเจ้า เราจะเข้าร่วมนั่งโต๊ะเดียวกันกับพระเยซู
วิวรณ์ 19:7,9
ขอให้เราทั้งหลายร่าเริงยินดีและเต้นโลดถวายพระเกียรติแด่พระองค์ เพราะถึงเวลามงคลสมรสของพระเมษโปดกแล้ว (.....)

"ความเจริญสุขมีแก่คนทั้งหลาย ที่ได้รับเชิญมาในการมงคลสมรสของพระเมษโปดก"
Next screenPrevious screen

ภาพท 32 ช่วงเวลาแห่งความจริง บทที่ 9
จงกระทำอย่างนี้ให้เป็นที่ระลึกถึงเรา
ภาพที่ 32
ให้เราขอบคุณพระเจ้าสำหรับพระเมตตาของพระองค์
ข้าแต่พระเจ้า

ข้าพระองค์ทั้งหลายทราบดีว่า ข้าพระองค์จะต้องไม่ลืมว่าพระองค์ทรงชำระด้วยราคาสูงเพื่อช่วยเราทั้งหลายในรอด ด้วยการประทานพระเยซู คริสต์ พระบุตรของพระองค์

เพื่อเตือนให้เราระลึกถึงการทรงเสียสละนี้ พระองค์ทรงโปรดประทานพิธีมหาสนิทที่ประเสริฐ มีการล้างเท้าเพื่อเตรียมหัวใจให้พร้อมก่อนที่จะเข้าร่วมรับประทานด้วยกัน

ขอพระองค์ทรงโปรดประทานโอกาสให้เข้าร่วมในทั้งสองพิธีนี้เพื่อโดยการมีส่วนร่วมนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายจะเข้าสนิทกับพระองค์มากยิ่งขึ้นและมีความสนิทสนมกับเพื่อนผู้เชื่อด้วย

ขออธิษฐานในนามของพระเยซูคริสต์

อาเมน
Previous screen
ข้อสอบสำหรับบทเรียนบทที่ 9 กำลังรอคอยท่านอยู่

ข้อสอบสำหรับบทเรียนบทที่ 9 กำลังรอคอยท่านอยู่
(มีเฉพาะ ภาษาอังกฤษ และ ภาษาฝรั่งเศส เท่านั้น)


Source of the Pictures of this Lesson
Screen 1: In: «Adventist Review» (Special Edition - «Time to Go Deeper»), p.20. Screen 2: GREER, Arlo. In: «The Bible Story, volume 2» (MAXWELL, Arthur S.), p.116. Used by permission. Copyright ©1954, 1982 by Review and Herald® Publishing Association, USA. All Rights Reserved. Screen 3: DORE, Gustave. In: «La Bible de Gustave Doré», Lausanne, Edita, 1994, p.63. Screen 4: In: «The Watchtower» magazine (February 15, 1990), Watch Tower Bible and Tract Society, p.10. Screen 5: In: «The Bible in Pictures for Little Eyes» (TAYLOR, Kenneth N.), Moody Press, Chicago, 1956, p.160. Screen 6: STEEL, John. In: «God Cares, volume 2» (MAXWELL, C. Mervyn), Pacific Press Publishing Association, 1985, p.48. Screen 7: MANTEGNA, Andrea. «The Crucifixion» (1456-1460), Louvre Museum, Paris. In: «La Peinture de la Renaissance Italienne» (BECK, James H.), Editions Könemann, 1999, p.258. Screen 8: MANISCALCO, Joe. In: «Images from the Bible and Sacred History CD», Chosen Works, MLI Software, JM128.BMP. Picture edited by Cyberspace Ministry. Screen 9: DA VINCI, Leonardo. «The Last Supper», Santa Maria delle Grazie, Milan, Italy. Screen 10: In: «The Bible in Pictures for Little Eyes» (TAYLOR, Kenneth N.), Moody Press, Chicago, 1956, p.163. Screen 11: REMMEY, Paul. In: «The Bible Story, volume 9» (MAXWELL, Arthur S.), p.62. Used by permission. Copyright ©1957, 1985 by Review and Herald® Publishing Association, USA. All Rights Reserved. Screen 12: In: «The Watchtower» magazine (April 1, 1993), Watch Tower Bible and Tract Society, p.32. Screen 13: PAYTON REID, R. In: «The Bible Picture Book» (CHALMERS, Muriel J.), Thomas Nelson and Sons, London, p.70. Screen 14: COLEMAN, Ralph Pallen. In: «The Way, the Truth, and the Life», Philadelphia, The John C. Winston Company, 1958, p.71. Screen 15: STUTZMAN, Mark. In: «Canadian Adventist Messenger» magazine (January 1996), SDA Church in Canada, front cover. Screen 16: Unknown source. Screen 17: In: «The Watchtower» magazine (April 1, 1998), Watch Tower Bible and Tract Society, p.32. Screen 18: REMMEY, Paul. In: «The Bible Story, volume 9» (MAXWELL, Arthur S.), p.64. Used by permission. Copyright ©1957, 1985 by Review and Herald® Publishing Association, USA. All Rights Reserved. Screen 19: In: «The Watchtower» magazine (July 15, 1990), Watch Tower Bible and Tract Society, p.8. Screen 20: DORPH, Anton. «Head of Christ», Lynge Church, Lynge, Denmark. Screen 21: BROWN, Ford Madox. «Christ Washing Peter’s Feet» (1852-1856), The Tate Gallery, London. In: «Charlton Heston Presents the Bible», GT Publishing, New York, 1997, p.201. Screen 22: In: «The Watchtower» magazine (March 15, 1994), Watch Tower Bible and Tract Society, p.1. Screen 23: REMMEY, Paul. In: «The Bible Story, volume 9» (MAXWELL, Arthur S.), pp.58,59. Used by permission. Copyright ©1957, 1985 by Review and Herald® Publishing Association, USA. All Rights Reserved. Screen 24: Photos by STENBAKKEN, Erik. In: «Signs of the Times» magazine (August 1999), Pacific Press Publishing Association, p.24,25. Composite picture by Cyberspace Ministry. Screen 25: Photo by TANK, Duane. In: «Signs of the Times» magazine (January 2000), Pacific Press Publishing Association, p.10. Screen 26: MANISCALCO, Joe. In: «La Sentinelle» magazine (April 1994), Pacific Press Publishing Association, p.12. Screen 27: BLOCH, Carl. «Emmaus», Loderup Church, Skaane, Sweden. Screen 28: BLOCH, Carl. In: «The Living Bible Encyclopedia in Story and Pictures, volume 6», New York, H.S. Stuttman Co. Inc., 1968, p.796-b. Screen 29: In: «The Watchtower» magazine (March 15, 1998), Watch Tower Bible and Tract Society, p.31. Screen 30: In: «Le Moniteur», Pacific Press Publishing Association, Second Quarter 2000, front cover. Screen 31: CONVERSE, James. In: «God Cares, volume 2» (MAXWELL, C.Mervyn), Pacific Press Publishing Association, 1985, p.469. Screen 32: Photo by PhotoDisc. In: «Adventist Review» (July 1999), p.9.
Any copyrighted images not bearing a statement of permission, are used for the purpose of non-commercial scholarly commentary or criticism in accordance with section 107 of U.S. Copyright Law, and with article 29 of Canada Copyright Act (Chapter C-42), which by law can be without the consent or endorsement of the copyright holder. Images lacking attribution are either known or assumed to be in the public domain, or have an as yet undetermined status. Anyone having knowledge of proper attribution for an image is requested to contact us via email below so that it can be correctly noted. It is our intent to comply fully with applicable laws regarding intellectual property rights.

ข้อสอบสำหรับบทเรียนบทที่ 9 กำลังรอคอยท่านอยู่

ข้อสอบสำหรับบทเรียนบทที่ 9 กำลังรอคอยท่านอยู่
(มีเฉพาะ ภาษาอังกฤษ และ ภาษาฝรั่งเศส เท่านั้น)